ความพิสดารของ “ระบบสุริยะ” ดาวประหลาดที่ไม่เหมือนใครในจักรวาล

"นับตั้งแต่การค้นพบครั้งสำคัญในปี 1992 เมื่อนักดาราศาสตร์ได้รู้จัก “ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ” (exoplanet) เป็นครั้งแรก หลังจากนั้นก็มีการค้นพบดาวเคราะห์ในประเภทดังกล่าวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และได้บันทึกลงฐานข้อมูลนับเป็นจำนวนหลายพันดวงด้วยกัน แต่อย่างไรก็ตาม แทบจะไม่มีดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงไหนเลยที่มีลักษณะเหมือนกับโลกของเราทุกประการ นอกจากนี้ โครงสร้างระบบดาวเคราะห์ซึ่งโคจรวนรอบดาวฤกษ์ที่ค้นพบใหม่นั้น ยังแตกต่างจากระบบสุริยะของเราที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางอย่างมากด้วย ดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ในห้วงจักรวาลนั้น ถ้าไม่ได้เป็นดาวเคราะห์ก๊าซขนาดใหญ่ยักษ์ ก็มักจะเป็นดาวน้ำแข็งหรือดาวที่โคจรอยู่ใกล้กับดาวฤกษ์ของตนเองมากเกินไป จนมีอุณหภูมิร้อนแรงถึงขั้นทะลุจุดเดือดไปหลายร้อยหรือหลายพันองศาเซลเซียส ไม่ต้องพูดถึงดาวที่มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตอย่างโลก ซึ่งหาได้ยากมากเหมือนกับงมเข็มในมหาสมุทรเลยทีเดียว ข้อเท็จจริงเชิงสถิติข้างต้นชี้ให้เห็นว่า ระบบสุริยะของเราคือสิ่งพิสดารที่ไม่เหมือนใครในห้วงจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาล ซึ่งดร. จอนติ ฮอร์เนอร์ นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์จากมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นควีนส์แลนด์ของออสเตรเลีย อธิบายกับเว็บไซต์ ScienceAlert ดังนี้ “ในยุคก่อนนักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานโดยเชื่อมั่นเป็นอย่างมากว่า…