บ๊วยเป็นผลไม้ที่มีต้นกำเนิดจากประเทศจีนและได้รับความนิยมมากทั่วภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งประเทศไทยที่สามารถปลูกได้ในพื้นที่ภาคเหนือ ผลบ๊วยมีลักษณะเป็นลูกกลมเล็ก สีเขียวและมีลวดลายที่คล้ายพุทรานมสด ควรระมัดระวังเมื่อบริโภคผลบ๊วยสด เนื่องจากในบ๊วยมีสารพิษที่เรียกว่าอะมิกดาลิน (Amygdalin) ซึ่งสามารถทำให้เกิดพิษได้ การที่จะรับประทานบ๊วยได้อย่างปลอดภัยจึงต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ เพื่อกำจัดสารพิษดังกล่าว วิธีที่แพร่หลายคือการดองเค็มหรืออบแห้ง การดำเนินการเหล่านี้ช่วยให้อะมิกดาลินถูกกำจัดออกไป ควรระวังในการบริโภคผลบ๊วยสดเนื่องจากอาจทำให้สารพิษสะสมในร่างกาย ส่วนใหญ่บ๊วยที่อยู่ตามท้องตลาดนั้นจะผ่านการแปรรูปและเป็นปลอดภัยสำหรับการบริโภค
ประโยชน์ของบ๊วยที่มากกว่าความอร่อย
- กระตุ้นความอยากอาหาร : รสชาติเปรี้ยวหวานของบ๊วยช่วยกระตุ้นการทำงานของต่อมรับรส เพิ่มการหลั่งน้ำย่อย และช่วยลดอาการขมปาก-ขมคอ ทำให้เพิ่มความอยากอาหาร
- บ๊วยเป็นผลไม้ธาตุเย็นช่วยปรับสมดุลร่างกาย : บ๊วยเป็นผลไม้ที่มีธาตุเย็น ช่วยปรับสมดุลธาตุในร่างกาย ลดอาการกระหายน้ำ และช่วยบรรเทาอาการร้อน
- บรรเทาอาการวิงเวียนและอาเจียน : รสเปรี้ยวของบ๊วยช่วยลดอาการวิงเวียนและอาเจียนจากการการตั้งครรภ์ แพ้ท้อง หรือปวดหัวจากการเมาค้าง
- ปรับสมดุลระบบย่อยอาหาร : บ๊วยมีรสเปรี้ยวและฤทธิ์ของกรดซิตริก (Citric Acid) ที่ช่วยลดความเป็นด่างในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยให้กระบวนการย่อยและดูดซึมอาหารเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- บรรเทาความอ่อนเพลีย : บ๊วยมีฤทธิ์เป็นด่าง (pH 7.3) ที่ช่วยปรับสมดุลความเป็นด่างในเลือด ลดอาการกระหาย บรรเทาอาการเหนื่อยล้า
- บำรุงสมองและป้องกันโรคอัลไซเมอร์ : สารต้านอนุมูลอิสระในบ๊วยช่วยบำรุงเซลล์สมองจากการเสื่อมสภาพก่อนวัยอันควร ลดโอกาสเกิดโรคความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์
คำแนะนำและข้อควรระวังในการรับประทานบ๊วย เพื่อไม่ให้เกิดเสียต่อสุขภาพ
- ผู้ที่มีปัญหาเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดควรหลีกเลี่ยงหรือจำกัดการรับประทานอาหารที่มีความเค็ม เช่น บ๊วยเค็มเนื่องจากความเค็มเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด
- สำหรับการรับประทานบ๊วยหวาน ซึ่งบ๊วยหวานมีสารซัคคาริน (ขัณฑสกร) ที่ให้ความหวานในอาหารแห้ง อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร และเกิดอาการระคายเคืองในช่องปาก และโรคกระเพาะอาหาร และการรับประทานบ๊วยหวานในปริมาณมากอาจส่งผลให้ร่างกายมีปริมาณโซเดียมจากเกลือสูง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง
- คนทั่วไปและหญิงตั้งครรภ์ควรเลือกรับประทานบ๊วยที่มีรสเค็มปานกลางและลดปริมาณของอาหารที่มีโซเดียมสูง
- ควรระวังการรับประทานบ๊วยเค็มในปริมาณมากเกินไปเพื่อป้องกันการอาการกระหายน้ำ อาการร้อนใน และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง