ประวัติความเป็นมาของจังหวัดฯ ปัตตานี

“หลักฐานจากเอกสารโบราณกล่าวถึงเมืองหรือรัฐสำคัญบางแห่งที่ปรากฏบนแหลมมลายู โดยมีนามนี้ปรากฏในสำเนียงของแต่ละภาษา: หลังยาซูว หลังยาซีเจีย (ภาษาจีน) ลัคาโศกะ อิลังคาโศกะ (ภาษาสันสกฤต และ ภาษาทมิฬ) เล็งกุสะ (ภาษาขวา) ลังคะศุกา (ภาษาอาหรับ) ลังกะสุกะ สังกาสุกะ (ภาษามลายู)

นักวิชาการต่างก็มีสันนิษฐานว่า นามนี้อาจจะเป็นชื่อเมืองเดียวกัน ที่เคยตั้งอยู่ในรัฐเคดาห์ ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย และจังหวัดปัตตานีในปัจจุบัน”

นักวิชาการทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีมีความเชื่อว่า ปัตตานีเป็นสถานที่แวะพักจอดเรือที่สำคัญ สืบเนื่องมาจากการแลกเปลี่ยนซื้อ-ขายสินค้าระหว่างพ่อค้าชาวอินเดียทางตะวันตกกับพ่อค้าชาวจีนทางตะวันออก และชนพื้นเมืองบนแผ่นดินและหมูเกาะใกล้เคียง

มีความเชื่อว่า ปัตตานีในอดีตเคยเป็นอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรือง มีหลักฐานทางโบราณคดีที่บ่งชี้ได้ว่า บริเวณอำเภอยะรัง มีร่องรอยของเมืองโบราณขนาดใหญ่ซ้อนทับกันถึง 3 เมือง พบวัตถุโบราณและสถานที่ศาสนสถานหลายแห่ง นอกจากนี้ยังพบโบราณวัตถุจำนวนมาก บางชิ้นมีตัวอักษรซึ่งนักภาษาโบราณอ่านและแปลว่าเป็นอักษรปัลลวะ (อินเดียใต้) และ ภาษาสันสกฤตเขียนเป็น คาถาในพุทธศาสนาลัทธิ มหายาน พระโพธิสัตว์สัมฤทธิ์ รวมถึงเศษภาชนะดินเผาที่มีอายุถึงราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 ซึ่งเข้าเข้ากันไปกับจดหมาย เหตุจีนที่กล่าวถึง

นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าบริเวณที่ตั้งของอำเภอยะรังในปัจจุบันเคยเป็นชุมชนที่มีความเจริญรุ่งเรืองในอดีต และต่อมาได้ย้ายเมืองปัตตานีมาที่บริเวณบ้านพรือเซะ นักวิชาการสันนิษฐานว่า เปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ทำให้เมืองเดิมไม่เหมาะในการเป็นท่าการค้า”