มารู้จักกับภาวะไทรอยด์เป็นพิษ และอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

ก่อนอื่นต้องขอเกริ่นก่อนว่า โรคที่เกี่ยวกับไทรอยด์ จะแบ่งเป็น 2 ชนิดด้วยกัน คือ ไทรอยด์เป็นพิษ หรือ ไฮเปอร์ไทรอยด์ (Hyperthyroidism) และ ภาวะขาดไทรอยด์หรือ ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) ซึ่งโรคทั้งสองมีลักษณะของความผิดปกติที่แตกต่างกัน แต่ในครั้งนี้จะขอกล่าวถึงไทรอยด์เป็นพิษ หรือไฮเปอร์ไทรอยด์กัน

 

สาเหตุและอาการของภาวะไทรอยด์เป็นพิษ

สำหรับภาวะไทรอยด์เป็นพิษนั้น เกิดจากการที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากเกินไป ทำให้มีอัตราการทำงานของระบบเมตาบอลิซึมเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยจะเผาผลาญพลังงานและสลายไขมันในร่างกายมากขึ้น ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานหนักขึ้น ส่งผลให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงอาการอื่น ๆ เช่น หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดปกติ เหงื่อออกง่าย ขี้หงุดหงิด หลับยาก ตาโปน คอพอก แขนขาอ่อนแรง ประจำเดือนมาผิดปกติ ซึ่งเป็นสัญญาณที่ควรระวังและต้องได้รับการรักษาทันที

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง สำหรับผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษ

ในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษนั้น ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้หลากหลาย จำกัดหรือหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจกระตุ้นฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งได้แก่อาหารเหล่านี้

1. อาหารที่มีไอโอดีนสูง ซีลีเนียม และสังกะสีสูง

สารอาหารเหล่านี้สามารถพบได้มากในอาหารทะเลจำพวก กุ้ง หอยนางรม ปลา เนื้อวัว เครื่องในสัตว์ กระเทียม เมล็ดงา เห็ด และถั่วเหลือง รวมถึงธัญพืชประเภทต่าง ๆ ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญที่ต่อมไทรอยด์จะนำไปผลิตฮอร์โมน โดยผู้ป่วยไฮเปอร์ไทรอยด์ จะมีระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายสูงอยู่แล้ว การทานอาหารเหล่านี้เข้าไป จะยิ่งกระตุ้นทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป ดังนั้นให้หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไอโอดีน ซีลีเนียม และสังกะสีสูง

2. เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน รวมทั้งเครื่องดื่มชูกำลัง

โดยปกติเครื่องดื่มประเภทนี้ถ้าดื่มมากเกินไป ก็เป็นผลเสียต่อร่างกายอยู่แล้ว ยิ่งผู้ป่วยที่มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษ หากดื่มเข้าไปก็ยิ่งจะซ้ำเติมอาการ จึงควรหลีกเลี่ยงหรือไม่แตะต้องเลย เนื่องจากมันอาจกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานไม่คงที่ และทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินความต้องการ

3. อาหารที่มีไขมันทรานส์ และไขมันอิ่มตัวสูง

สำหรับอาหารที่มีไขมันทรานส์ พบได้ในอาหารประเภทเนย มาการีน เค้ก คุกกี้ ขนมอบ เบเกอรี่ รวมถึงบรรดาอาหารประเภททอดเป็นต้น ส่วนอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงนั้น พบได้ในเนื้อวัวติดมัน เนื้อหมู เนื้อแกะ เนื้อไก่ที่มีหนัง แฮม เบคอน ไขมันวัว น้ำมันหมู ครีม ชีส เป็นต้น รวมทั้งของทอดกนมต่างๆ

4. นม รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนม

เนื่องจากนมเต็มไปด้วยสารอาหารประเภทไอโอดีนและซีลีเนียม ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ โดยจะไปกระตุ้นให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากขึ้น ดังนั้นจึงควรทานไม่ปริมาณที่พอเหมาะพอควร

sweet cream in a jar, milk, cottage cheese, an egg on a blue background. milk products.

5. อาหารแปรรูปประเภทต่าง ๆ

เนื่องจากในอาหารแปรรูป มักจะมีปริมาณโซเดียมที่ค่อนข้างสูง ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากขึ้น จากการได้รับปริมาณโซเดียมที่มากจนเกินไป โดยอาหารแปรรูปที่มีปริมาณโซเดียมสูง ได้แก่ ไส้กรอก แฮม เบคอน กุนเชียง และอาหารกระป๋อง เป็นต้น

Assorted ham, bacon and sausage