นมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เลือกดื่มอย่างไรไม่ให้กระทบต่อสุขภาพ

 

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานควรรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติหรือควบคุมได้ดีเพื่อลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากโรคนี้ การดูแลเรื่องอาหารและการบริโภคอาหารเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมน้ำตาลในเลือด การเลือกนมที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานก็เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญเช่นกัน เนื่องจากนมเป็นแหล่งของสารอาหารหลายอย่างที่ดีต่อร่างกาย เช่น โปรตีน แคลเซียม และแร่ธาตุต่าง ๆ นี่คือบางแนวทางที่สามารถช่วยในการเลือกนมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน :

เลือกนมสูตรไม่เติมน้ำตาล (Unsweetened Milk)

นมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ต้องคำนึงถึงปริมาณน้ำตาลในนมเป็นหลัก เพราะในกรณีที่ผู้ป่วยเบาหวานไม่ได้คุมน้ำตาลหรือมีภาวะน้ำตาลสูงเป็นเวลานาน อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนแบบเรื้อรังได้ ไม่ว่าจะเป็นภาวะไตเสื่อม ภาวะไตวาย เบาหวานขึ้นตา โรคหลอดเลือดสมอง หรืออาการชาที่ปลายมือปลายเท้า รวมถึงภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเฉียบพลันซึ่งส่งผลให้อาเจียนหรือหมดสติได้

ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานจึงควรเลือกดื่มนมที่ไม่เติมน้ำตาล ไม่ได้ปรุงแต่งรสชาติเพิ่มเติมเพื่อจำกัดปริมาณคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาล อย่างเช่น เช่น นมรสช็อกโกแลต นมรสกล้วยหอม นมรสสตรอเบอร์รี่ หรือนมเปรี้ยว โดยเฉพาะนมวัวซึ่งมีแลคโตสที่เป็นน้ำตาลตามธรรมชาติอยู่แล้ว

เลือกนมสูตรไขมันต่ำ (Low-Fat Milk)

การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของโรคเบาหวาน เพราะไขมันอิ่มตัวมีผลต่อการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมักจะมีภาวะไขมันในเลือดสูงร่วมด้วย ซึ่งเสี่ยงต่อการเสื่อมของหลอดเลือดตามอวัยวะต่าง ๆ ดังนั้นการดื่มนมไขมันต่ำจึงอาจเป็นตัวเลือกที่ค่อนข้างปลอดภัยกับคนเป็นเบาหวาน ซึ่งจะช่วยลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตและพลังงานที่ได้จากไขมัน และช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอีกด้วย

เลือกนมจากพืช (Non-dairy milk)

นมจากพืชสูตรไม่ได้เติมน้ำตาลก็เป็นตัวเลือกหนึ่งที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องจากมีน้ำตาลและไขมันในปริมาณต่ำ และที่สำคัญคือไม่มีน้ำตาลแลคโตส จึงไม่ส่งผลต่อระบบการย่อยอาหาร ซึ่งแตกต่างจากนมวัวซึ่งมน้ำตาลแลคโตส ที่อาจจำให้เกิดอาการท้องเสีย หรือท้องอืดได้ ซึ่งนมจากพืชมีให้เลือกหลายหลาย ทั้ง นมอัลมอนด์ นมแมคคาเดเมีย นมข้าวกล้อง นมถั่วเหลือง เป็นต้น

สำหรับปริมาณการดื่มนมในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรดื่มนมไม่เกินวันละ 1 ถึง 2 แก้ว หรือโดยประมาณ 250 ถึง 500 มิลลิลิตร และควรอ่านรายละเอียดบนฉลากทุกครั้ง เพราะจะได้ทราบปริมาณสารอาหาร และจะช่วยให้ควบคุมปริมาณน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่ได้รับน้ำตาลในปริมาณมากเกินไป

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรปรึกษาแพทย์ถึงแนวทางการเลือกรับประทานอาหาร และเครื่องดื่มที่เหมาะสมกับปัญหาสุขภาพ นอกจากนั้น ควรต้องออกกำลังกาย และรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำด้วยเพื่อติดตามอาการป่วยของตนเอง